พิธีไหว้ครูดนตรี
การไหว้ครูดนตรีไทยนั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนก็มีพิธีสงฆ์คือบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วย ประเพณีแต่เก่าก่อนของเรานั้นไม่ว่าวิชาใดก็ตาม ต้องทำการเคารพครูเสียก่อน คือศิษย์ต้องนำดอกไม้ ธูปเทียนไปทำพิธีมอบตัวต่อครู แม้การเรียนวิชาหนังสือก็เช่นเดียวกัน แต่การเรียนดนตรีนั้นมักจะเริ่มด้วยการไปมอบตัวต่อครูในวันพฤหัสบดีก่อนแล้วจึงจะเรียนในวันอื่นต่อไป ฉะนั้นการทำพิธีไหว้ครูที่ใหญ่กว่าปกติ จึงทำการบูชาในวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครู และจะไม่ทำการไหว้ครูในวันพระ เพราะเป็นวันพุทธศาสนิกชนไปฟังเทศน์ ฟังธรรม แต่ปัจจุบันนี้มักนิยมจัดพิธีในวันอาทิตย์ เพราะผู้เรียนส่วนมากไม่ว่างในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสังคมในปัจจุบัน
ลำดับขั้นตอนการจัดพิธีไหว้ครู
ผู้ที่จะเรียนดนตรีครั้งแรกจะต้องมีดอกไม้ธูปเทียนไปให้ครูผู้สอนบูชาครู (เทวดา) เรียกว่าเป็นการไหว้ครูขั้นที่ 1 แล้วจึงเรียนเพลงจากง่ายไปถึงยากพอสมควร จนสามารถบรรเลงร่วมวงกับผู้อื่นได้ (เทียบเท่าชั้นประถม 1 ถึงมัธยม 6) ต่อไปขั้นที่ 2 เมื่อมีความรู้และฝีมือดีแล้วก็จะเรียนเพลงยากๆ ขึ้นไปจนถึงเพลงเดี่ยวที่ไม่ยากเกินไป (เทียบเท่าอุดมศึกษา) ขั้นที่ 3 มีความสามารถทำการสอนผู้อื่นได้ ซึ่งครูผู้สอนจะอนุญาตหรือรับรองได้ (เทียบเท่าปริญญาตรี) ผู้รับมอบให้เป็นครูต้องมีเครื่องกระยาบวชสังเวย และดอกไม้ธูปเทียน บูชาครูเทวดาด้วย (จัดไม่ต้องใหญ่โตอย่างการไหว้ครูใหญ่ประจำปี) ขั้นที่ 4 เพื่อขอรับอนุญาตเพื่อจัดทำการพิธีไหว้ครูให้แก่ศิษย์ได้ ขั้นนี้ต้องจัดเครื่องสังเวยครบตามรูปแบบการไหว้ครูใหญ่ทุกประการ จึงจะเรียกตามภาษานักดนตรีว่า ขอรับการประสิทธิ์ประศาสน์ให้เป็นครูผู้ทำพิธีอ่านโองการ แล้วจึงสามารถเป็นพิธีกรอ่านโองการใน พิธีไหว้ครู และ ครอบ ศิษย์ที่มีวิชาความรู้ดี ประพฤติดีให้เป็นผู้ทำพิธีไหว้ครูประจำปีต่อไป
คำกล่าวบูชาครู คำกล่าวบูชาครู หรือคาถาอ่านโองการในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยนี้ ได้เค้ามาจากพิธีพราหมณ์เมื่อไทยรับมาปฏิบัติก็เพิ่มพิธีทางพระพุทธศาสนาเข้าด้วย ต้องเริ่มด้วยอาราธนาคำนมัสการคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก่อน แล้วจึงเชิญเทพเจ้าต่างๆ ซึ่งในคำอ่านโองการจะมีออกพระนาม เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ โดยเฉพาะดุริยะเทพ 3 พระองค์คือ พระวิษณุกรรม พระปัญจสิขรณ์ และพระปรคนธรรพ ซึ่งนักดนตรีเคารพว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปี่พาทย์ และพระพิราธ หรือพระพิราพ ซึ่งเป็นที่เคารพของพวกฝ่ายนาฏศิลป เพราะว่าดนตรีและนาฏศิลป์ นับถือเทพทั้ง 2 องค์ คือ พระปรคนธรรพ และพระพิราธเช่นเดียวกัน ในการเชิญครูเทพทั้งหลายเข้าสู่บริเวณพิธีจะมีดนตรีประกอบเรียกว่าหน้าพาทย์ต่างๆ
นอกจากนี้ยังมีการเชิญพระฤาษีอีก 7 ตน (องค์) มาช่วยอวยพรด้วย ในตำรากล่าวว่ามีฤาษีร้อยกว่าองค์ที่เป็นอาจารย์ประจำวิชาต่างๆ เช่น บางองค์ก็คงเคยได้ยินชื่อจากในเรื่องรามายณะ จากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ร.6 เช่น ฤาษีทุรวาท ฤาษีโคบุตร ฤาษีวิศวามิศร์ ฯลฯ และที่ยังไม่เคยได้ยินชื่ออีกมาก ในการเชิญมาในพิธีไหว้ครูนี้ก็เลือกจากนามของฤาษีที่คิดว่าเป็นมงคลนามของการดนตรีและนาฏศิลป์ เท่าที่เคยรู้จักกันมาในหมู่นักศิลปประเภทนี้แล้วคือ พระภรตมุนีพระนารท (พระฤาษีนารอด) ได้เชิญเพิ่มอีก 5 องค์คือ พระฤาษีสิทธิไชย พระฤาษีสิทธิมนต์ พระฤาษีทัศนมงคล พระฤาษีขจรบันลือลาภ พระฤาษีกัสสป บรมครูฝ่ายเกษตรซึ่งทุกคนจำเป็นต้องบูชา
ดนตรีประกอบพิธีไหว้ครู
เมื่อพิธีกร หรือแขกผู้มีเกียรติรับเชิญ เริ่มจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป ดนตรีบรรเลง เพลงสาธุการเพลงสาธุการมีประวัติว่า เมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกอุบัติขึ้นในโลก ทรงพระนามว่า “ตัณหังกร” ก็มีผู้มาเลื่อมใสมาเคารพบูชาเหนือการปฏิบัติตามลัทธิของศาสนาพราหมณ์กันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเทพทั้งหลายด้วย พระมหาพรหมซึ่งมีศักดานุภาพมากก็สงสัยว่าจะมีผู้อื่นใดเก่งยิ่งกว่าพระองค์ จึงใคร่จะทดลองคำเลื่องลือนั้น พระพรหมจึงไปท้าพนันกับพระพุทธเจ้า โดยให้ผลัดกันซ่อนหา พระพุทธเจ้าทรงรับคำท้า ให้พระพรหมผู้ท้าไปซ่อนก่อน ไม่ว่าพระพรหมจะไปซ่อนที่ใดๆ พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นได้ทุกแห่ง พอถึงคราวพระพุทธเจ้าทรงซ่อนบ้าง พระพรหมหาทั่วโลกสวรรค์ มนุษย์ก็มิได้พบ จึงทูลขอยอมแพ้ พระพุทธเจ้าให้พระพรหมยื่นพระหัตถ์ขึ้นไปบนพระเศียรของพระพรหมเอง ก็จับถูกข้อพระบาทของพระพุทธเจ้า เป็นอันว่าพระพรหมก็หมดทิฐิ เทวดาทั้งหลายที่ไปประชุมก็สาธุการขึ้นพร้อมกัน พร้อมทั้งบรรเลงเพลงดนตรีด้วย จึงเรียกเพลงนั้นว่าสาธุการ (แต่คงไม่ใช่ทำนองอย่างมนุษย์ที่ใช้บรรเลงอยู่นี้) ตั้งแต่นั้นมาก็ใช้เพลงสาธุการในการเคารพนมัสการในพิธีสงฆ์เป็นอันดับแรกตลอดมาเช่น ก่อนพระเทศน์
ลำดับการปฏิบัติในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย
ตอนที่ 1 อัญเชิญและบูชาครู เทพ เทวดา ฤาษี และครู มนุษย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว
1. พิธีกร และผู้เข้าร่วมพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคาถาซึ่งมีความหมายถึง การขอสมาอภัยโทษที่ได้ทำผิดล่วงเกินไปแล้ว ดนตรีบรรเลงเพลง สาธุการ ซ้ำอีกครั้งเป็นการแสดงว่าทุกคนบูชาพระพุทธเจ้า
2. พิธีกรกล่าวนำบูชา บทบูชาคุณครูบาอาจารย์ขอให้มีความสุขปราศจากโรคภัย และมีลาภ ดนตรีบรรเลง เพลงสาธุการกลอง ซึ่งไม่ใช่เพลงเดียวกับสาธุการ และมีความหมายรวมไปถึงครู บิดามารดา ด้วย
3. พิธีกรกล่าวนำบูชาอัญเชิญพระอิศวร พระนารายณ์ และเทวดาทั้งหลาย ดนตรีบรรเลง เพลงกลม แผละ ตระสันนิบาต หน้าพาทย์เพลง“กลม” หมายถึงองค์พระอิศวรผู้เป็นใหญ่ต่อด้วยเพลง “แผละ” ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ประจำครุฑพาหนะของพระนารายณ์และเพลง ตระสันนิบาต หมายถึง เทพทั้งหลายที่มาร่วมประชุมพร้อมกัน
4. พิธีกรกล่าวนำอัญเชิญพระปัญจสิขรณ์ ถวายเครื่องสังเวยและขอพร ดนตรีบรรเลง เพลงตระเชิญ ตระเทวาประสิทธิ์ (ให้พร)
5. พิธีกรกล่าวนำอัญเชิญ พระวิษณุกรรม พระปัญจสิขรณ์ และพระปรคนธรรพ พร้อมกันทั้ง 3 องค์ เพื่อถวายเครื่องสังเวย ดนตรีบรรเลง เพลงบาทสกุณี เสมอข้ามสมุทร ตระพระปรคนธรรพ
6. พิธีกรกล่าวนำอัญเชิญ พระฤาษี 7 องค์ ดนตรีบรรเลง เสมอเถร พราหมณ์เข้า
7. พิธีกรกล่าวนำ เชิญครูทั้งหลายทั้งเทพและพราหมณ์ที่มิได้ออกนาม ดนตรีบรรเลง เพลงดำเนินพราหมณ์
8. พิธีกรกล่าวนำ บูชาเทวดาทั้งหลาย ถวายดอกไม้ เครื่องหอม ฯลฯ ดนตรีบรรเลง เพลงเหาะ
9. พิธีกรกล่าวนำ บูชาท่านครู (มนุษย์) ที่ล่วงลับไปแล้ว (ออกนาม) เชิญมาร่วมพิธีรับเครื่องสังเวย ขอพร ดนตรีบรรเลง เพลงเสมอ 3 ลา , รัว 3ลา
ตอนที่ 2 อัญเชิญและบูชาพระพิราธ
ตอนที่ 1 อัญเชิญและบูชาครู เทพ เทวดา ฤาษี และครู มนุษย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว
1. พิธีกร และผู้เข้าร่วมพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคาถาซึ่งมีความหมายถึง การขอสมาอภัยโทษที่ได้ทำผิดล่วงเกินไปแล้ว ดนตรีบรรเลงเพลง สาธุการ ซ้ำอีกครั้งเป็นการแสดงว่าทุกคนบูชาพระพุทธเจ้า
2. พิธีกรกล่าวนำบูชา บทบูชาคุณครูบาอาจารย์ขอให้มีความสุขปราศจากโรคภัย และมีลาภ ดนตรีบรรเลง เพลงสาธุการกลอง ซึ่งไม่ใช่เพลงเดียวกับสาธุการ และมีความหมายรวมไปถึงครู บิดามารดา ด้วย
3. พิธีกรกล่าวนำบูชาอัญเชิญพระอิศวร พระนารายณ์ และเทวดาทั้งหลาย ดนตรีบรรเลง เพลงกลม แผละ ตระสันนิบาต หน้าพาทย์เพลง“กลม” หมายถึงองค์พระอิศวรผู้เป็นใหญ่ต่อด้วยเพลง “แผละ” ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ประจำครุฑพาหนะของพระนารายณ์และเพลง ตระสันนิบาต หมายถึง เทพทั้งหลายที่มาร่วมประชุมพร้อมกัน
4. พิธีกรกล่าวนำอัญเชิญพระปัญจสิขรณ์ ถวายเครื่องสังเวยและขอพร ดนตรีบรรเลง เพลงตระเชิญ ตระเทวาประสิทธิ์ (ให้พร)
5. พิธีกรกล่าวนำอัญเชิญ พระวิษณุกรรม พระปัญจสิขรณ์ และพระปรคนธรรพ พร้อมกันทั้ง 3 องค์ เพื่อถวายเครื่องสังเวย ดนตรีบรรเลง เพลงบาทสกุณี เสมอข้ามสมุทร ตระพระปรคนธรรพ
6. พิธีกรกล่าวนำอัญเชิญ พระฤาษี 7 องค์ ดนตรีบรรเลง เสมอเถร พราหมณ์เข้า
7. พิธีกรกล่าวนำ เชิญครูทั้งหลายทั้งเทพและพราหมณ์ที่มิได้ออกนาม ดนตรีบรรเลง เพลงดำเนินพราหมณ์
8. พิธีกรกล่าวนำ บูชาเทวดาทั้งหลาย ถวายดอกไม้ เครื่องหอม ฯลฯ ดนตรีบรรเลง เพลงเหาะ
9. พิธีกรกล่าวนำ บูชาท่านครู (มนุษย์) ที่ล่วงลับไปแล้ว (ออกนาม) เชิญมาร่วมพิธีรับเครื่องสังเวย ขอพร ดนตรีบรรเลง เพลงเสมอ 3 ลา , รัว 3ลา
ตอนที่ 2 อัญเชิญและบูชาพระพิราธ
ตอนที่ 2 ผู้เข้าพิธีทุกคนจุดธูปใหม่อีกครั้ง
1. พิธีกรกล่าวนำ คาถาอัญเชิญพระพิราธ ดนตรีบรรเลง เพลงพระพิราธทั้งองค์ ซึ่งนักดนตรีมักเรียกว่า เพลง องค์พระ หรือ เพลงคุกพาทย์
2. พิธีกรกล่าวนำ เชิญเข้าในพิธี ถวายธูปเทียน ดนตรีบรรเลง เพลงเสมอมาร (ผู้ช่วยในพิธีเตรียมจัดและหยิบของที่จะถวายครูทุกสิ่ง)
1. พิธีกรกล่าวนำ คาถาอัญเชิญพระพิราธ ดนตรีบรรเลง เพลงพระพิราธทั้งองค์ ซึ่งนักดนตรีมักเรียกว่า เพลง องค์พระ หรือ เพลงคุกพาทย์
2. พิธีกรกล่าวนำ เชิญเข้าในพิธี ถวายธูปเทียน ดนตรีบรรเลง เพลงเสมอมาร (ผู้ช่วยในพิธีเตรียมจัดและหยิบของที่จะถวายครูทุกสิ่ง)
ตอนที่ 3 ถวายเครื่องดนตรีฝ่ายเทพ
1. พิธีกรกล่าวนำ ถวายเครื่องกระยาบวชสังเวย ดนตรีบรรเลง เพลงนั่งกิน
2. พิธีกรกล่าวนำ ถวายเครื่องพระพิราธ ดนตรีบรรเลง เพลงเซ่นเหล้า (ระหว่างนี้อาจมีการบรรเลงดนตรีหรือ รำนาฏศิลป์ถวายมือ แด่ “ครู” ที่อัญเชิญมาในพิธีฯ)
3. พิธีกรกล่าวนำ ลาเครื่องสังเวย
4. พิธีกรกล่าวนำ เชิญครูเสด็จเข้าที่ หรือเสด็จกลับไปจากพิธีฯ ดนตรีบรรเลง เพลงพราหมณ์ออก และ เสมอเข้าที่เมื่อนำเครื่องสังเวยออกไปหมดแล้ว พิธีกรโปรยข้าวตอกดอกไม้ไปที่เครื่องดนตรี และพรมน้ำมนต์ ดนตรีบรรเลง เพลงโปรยข้าวตอก
5. พรมน้ำมนต์ และเจิมผู้เข้าร่วมพิธีและศิษย์ จบพิธี บรรเลง เพลงกราวรำ
1. พิธีกรกล่าวนำ ถวายเครื่องกระยาบวชสังเวย ดนตรีบรรเลง เพลงนั่งกิน
2. พิธีกรกล่าวนำ ถวายเครื่องพระพิราธ ดนตรีบรรเลง เพลงเซ่นเหล้า (ระหว่างนี้อาจมีการบรรเลงดนตรีหรือ รำนาฏศิลป์ถวายมือ แด่ “ครู” ที่อัญเชิญมาในพิธีฯ)
3. พิธีกรกล่าวนำ ลาเครื่องสังเวย
4. พิธีกรกล่าวนำ เชิญครูเสด็จเข้าที่ หรือเสด็จกลับไปจากพิธีฯ ดนตรีบรรเลง เพลงพราหมณ์ออก และ เสมอเข้าที่เมื่อนำเครื่องสังเวยออกไปหมดแล้ว พิธีกรโปรยข้าวตอกดอกไม้ไปที่เครื่องดนตรี และพรมน้ำมนต์ ดนตรีบรรเลง เพลงโปรยข้าวตอก
5. พรมน้ำมนต์ และเจิมผู้เข้าร่วมพิธีและศิษย์ จบพิธี บรรเลง เพลงกราวรำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น